รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีลบรอยแผลเป็น

แผลเป็น เกิดมาจากขบวนการซ่อมแซมผิวหนังของร่างกายเมื่อผิวหนังเกิดแผล แผลเป็นจะเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการหายของแผล ซึ่งการเกิดแผลเป็นอาจเกิดมาจากการเกิดแผลจากอุบัติเหตุ หรือโรคบางชนิด เช่น สิว หรือเกิดมาจากแผลหลังการผ่าตัด โดยธรรมชาติแล้วแผลที่มีขนาดใหญ่และใช้เวลานานในการหายจะมีโอกาสที่เกิดเป็น แผลเป็นได้มาก แผลเป็นที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นในระยะแรกจะเห็นได้ชัดเจนแต่จะค่อยๆจางลงเมื่อ เวลาผ่านไป โดยอาจใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี ซึ่งการที่แผลเป็นจะเห็นได้ชัดหรือไม่ ขึ้นกับสี ความเรียบ ความลึก ความยาว และความกว้างของแผลนั้นๆ
แผลเป็นแยกตามลักษณะของแผลได้ดังนี้
1. แผลนูน มักจะเกิดจาก 2 ภาวะ คือ
1.1. แผลคีลอยด์ ( Keloid )
จะเป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก มีอาการคัน มักเกิดบริเวณหน้าอก โดยอาจเริ่มจากการเป็นสิวที่ร่องอก, เกิดที่บริเวณหัวไหล่จากการฉีดวัคซีน, เกิดที่ติ่งหูหลังการเจาะหู, เป็นบริเวณอื่นๆ หลังการผ่าตัดคลอดลูก, เกิดภายหลังอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม, เกิดจากแผลไฟไหม้ หรือเกิดจากแผลที่โดนแมงกะพรุนไฟ เป็นต้น สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งเป็นจากกรรมพันธ์ คีลอยด์ไม่สามารถหายเองได้
1.2. แผลเป็นนูนที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย ( Hypertrophic Scar )
แต่ละคนมีปฏิกิริยาดังกล่าวมากน้อยแตกแต่งกัน มักเกิดในช่วงแรกหลังการผ่าตัด จะเห็นนูนพร้อมกับมีสีแดงชมพู ประมาณ 3 สัปดาห์หลังเกิดแผล ความนูนจะลดลง สีแดงอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและค่อยๆจางเมื่อเวลาผ่านไป ในบางรายการนูนอาจเกิดขึ้นใหม่หลัง 2-3 เดือน แต่ส่วนมากจะอยู่ในขอบเขตของแผล ไม่นูนยื่นแบบคีลอยด์ อาการคันเกิดได้บ้างแต่จะน้อยกว่าคีลอยด์ แผลเป็นนูนสามารถหายได้เองหลัง 1 ปี แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าลักษณะแบบใดที่ควรรอให้หายเองหรือควรจะทำการ ศัลยกรรมแก้ไข

2. แผลเป็นหลุม ( Depressed Scar )
ที่พบบ่อยเกิดจากการเป็นสิว หลังเกิดการอักเสบ หรือจากการเป็นฝีอีสุกอีใส เนื้อเยื่อผิวที่มีหลายชั้นถูกทำลายลึก จนไม่สามารถสร้างชั้นผิวได้ครบเหมือนผิวด้านข้าง จึงเห็นเป็นลักษณะหลุม

3. แผลยืดกว้างออกจากรอยเย็บเดิม ( Widening Scar )
ส่วนหนึ่งเกิดจากเทคนิคการเย็บแผล ที่ขอบแผลไม่แนบสนิทไม่ปราณีต หรือ เย็บได้ไม่แข็งแรงพอ เมื่อมีการขยับของผิวบริเวณแผล แผลก็จะแยกและยืดออก

4. แผลที่มีสีไม่เหมือนสีผิวปกติที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับแผล ( Hypopigmented , Hyperpigmented Scar )
ทำให้แผลเห็นชัด ปัญหาสีที่เกิดมีได้ที่เป็นสีแดง น้ำตาล และขาว

5. แผลที่มีการดึงรั้ง หรือ เหลื่อมล้ำ ของเนื้อ ( Scar Contracture , Malalignment Scar )
มักเกิดจาก การเย็บเนื้อได้ไม่ตรงกัน หรือแผลมีความรุนแรง จนมีเนื้อหายไปแต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

6. แผลที่มีหลายๆปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

  จึงต้องดูว่าลักษณะแผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะแบบใด ซึ่งลักษณะแผลที่ต่างกันการรักษาก็จะต่างกันด้วยคับถ้าแผลที่เกิดแเป็นแผลนูนแบบคีลอยด์ (Keloid)การรักษาจะทำได้โดย
- ฉีดยาเฉพาะที่ (Intra lesional kenacorte) ฉีดที่ตัวคีลอยด์เลย ผลการรักษาพอใช้ได้ แต่ปัญหาคือ ผู้ป่วยมักจะเจ็บตอนที่ฉีดยา และต้องมาฉีดเป็นระยะ ตามที่แพทย์นัด
- ทายากลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ทาบริเวณ แผลช่วยระงับอาการคัน ตึง ปวด เพื่อที่จะได้ ไม่ลุกลามขึ้น แต่ แผลคีลอยด์อาจไม่ยุบลงมากเท่าที่ควร
- แผ่นซิลิโคนใส ใช้ แผ่นซิลิโคนใส ปิด แผลคีลอยด์ มากกว่า 12 ชั่วโมงต่อ วัน จะช่วยให้ แผลเป็นนี้ยุบลงได้ โดยที่ไม่เจ็บ แต่อาจใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ตัว แผ่นซิลิโคนใสนี้ สามารถนำมาล้างทำความสะอาด ใช้สบู่ฟอก ใช้น้ำสะอาดล้าง แล้วผึ่งให้แห้ง นำมาใช้ปิด แผลเป็นใหม่ได้อีกจนกว่าจะปิดไม่อยู่
- ใช้แสงเลเซอร์ ได้ผลปานกลาง ขึ้นอยู่กับขนาดคีลอยด์
- การผ่าตัด วิธีนี้มักไม่ได้ผล เพราะส่วนใหญ่ ถ้าตัดเอาเนื้อ คีลอยด์ออกไปแล้ว ภายหลังการผ่าตัด มักจะเกิด แผลเป็นคีลอยด์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ แผลเก่า แถมจะมีขนาดยิ่งใหญ่กว่าเดิมเสียอีก
- ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน เพื่อระงับอาการคัน ในกรณีที่คันมาก จะได้ไม่เกา ไม่ลุกลาม ใหญ่ขึ้นไปอีก

ถ้าแผลเป็นมีลักษณะที่กว้างมากหรือยาวมาก อาจทำการรักษาโดยการผ่าตัด

ถ้าแผลเป็นมีลักษณะเป็นหลุม การรักษาจะทำได้โดย
- การฉีดคอลลาเจน คอลลาเจนเป็นสารที่ผลิตจากโปรตีนของสัตว์ ใช้ฉีดเข้าไปในแผลเป็นเพื่อให้แผลเป็นเรียบขึ้น เหมาะสำหรับแผลเป็นที่เป็นมานานและ รักษาโดยวิธีอื่นแล้วไม่ค่อยได้ผล ผลข้างเคียงคือ ผู้ป่วยอาจแพ้ได้และผู้ป่วยต้องมาฉีดทุก
6-12 เดือน เนื่องจากคอลลาเจนที่ฉีดเข้าไปจะสลายได้
- การรักษาโดยการปลูกหนังใหม่ เทคนิคนี้ทำโดยการผ่าตัดแผลเป็นออกและนำผิวหนังจากบริเวณอื่นมาใส่ลงไปแทน ที่ ทำให้แผลเป็นเรียบขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับแผลเป็นที่เป็นหลุมลึก
- การรักษาโดยใช้สารเคมี วิธีนี้เหมาะสำหรับแผลเป็นชนิดตื้นๆ สารเคมีที่ใช้มีหลายชนิดคือกรดไทรคลออาซิติก กรดอัลฟา
ไฮดรอกซี่และอื่นๆ การเลือกใช้ชนิดใดขึ้นอยู่กับระดับความลึกของแผลเป็น การรักษาจะต้องให้แพทย์ผิวหนังรักษา หลังทำผู้ป่วยจะรู้สึกแสบๆ เล็กน้อย จากนั้นบริเวณที่ทำจะดำและหลุดลอกออกภายใน 4-5 วัน หลังแผ่นดำหลุดออกบริเวณที่ถูกทำอาจดำหรือแดงเล็กน้อยและค่อยๆ จางหายไปในที่สุด ผู้ที่ได้รับการรักษาต้องหลีกเลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย2-3 สัปดาห์

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาแผลเป็นที่มีขายอยู่ทั่วไปได้แก่
- Hirudoid cream (ฮิรูดอยด์ ครีม) เป็นยาทาชนิดครีม รักษาอาการอักเสบ และบรรเทาอาการฟกช้ำ ห้อเลือด บวม
และมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการอักเสบของหลอดเลือดดำ รอยฟกช้ำ ห้อเลือดบริเวณผิวหนัง และทำให้รอยแผลเป็นที่แข็ง นุ่มลงได้
- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามิน อี และ ซี ซึ่งวิตามินซีจะช่วยทำให้สีผิวจางลงโดยช่วยให้เกิดการหลุดลอกของ cell ผิว และวิตามินอี เป็นสาร antioxidant ช่วยลดริ้วรอย ผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยให้รอยแผลที่ดูคล้ำจางลง เช่น skar care cream
- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัด aloe vera จากว่านหางจรเข้ ซึ่งสารนี้จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบและเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่เป็น แผลได้ เช่น Smooth e cream , Nomarks
- กรดวิตามิน เอ จะช่วยให้สีผิวจางลง ช่วยให้รอยแผลที่คล้ำจางลง
- ผลิตภัณฑ์ Hansaplast scar reduce เป็นผลิตภัณฑ์ปิดแผลลดรอยแผลเป็นที่นูน และมีสีคล้ำ
- Mederma เป็นยาทาชนิดเจลที่มีส่วนผสมของสาร allantoin มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล มักใช้กับแผลนูน และคีลอยด์

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ส่วนมากที่มีในท้องตลาดจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยใน เรื่องของการลดสีผิวของรอยแผลเป็นให้จางลงเป็นส่วนใหญ่ และถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถทำให้ผิวหนังที่เกิดรอยแผลเป็นกลับ มาสู่ปกติได้100% แต่จะทำให้รอยแผลเป็นดูจางลง และการใช้ยาทารักษารอยแผลเป็นต้องใช้เวลาทาติดต่อกันนาน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วแผลเป็นที่เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะค่อยๆจางลงได้ เอง แต่การทายารักษารอยแผลเป็นจะช่วยให้รอยแผลเป็นจางลงเร็วขึ้น
ถ้าแผลเป็นมีลักษณะนูนหรือเป็นหลุม แผลกว้าง การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับลักษณะแผลที่เกิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น